โครงการกังหันชัยพัฒนา



โครงการชัยพัฒนา
โครงการชัยพัฒนา-กาชาดไทย-ศุภนิมิต (บ้านบางหว้า)
ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา

ความเป็นมา
                        1. นางรุณีย์ อารีสวัสดิ์ ราษฎรบ้านทุ่งนางดำ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และ  เพื่อนบ้าน 23 ครอบครัว ได้ร้องเรียนมายังสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อขอความช่วยเหลือภายหลังประสบภัยพิบัติสึนามิเนื่องจากไม่มีหน่วยงานใด                   ให้ความช่วยเหลือ
                        2. ต่อมา สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาจึงได้เข้าดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและเสนอ รายงานกราบบังคมทูล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ   สยามบรมราชกุมารี และได้พระราชทานพระราชวินิจฉัยให้ดำเนินการช่วยเหลือราษฎรดังกล่าวโดยการหาพื้นที่ เพื่อจัดสร้างบ้านพักถาวร รวมถึงให้ความช่วยเหลือด้านเครื่องมือประกอบอาชีพพร้อมทั้งให้ความรู้ด้านต่างๆ เพื่อนำไปประกอบอาชีพเสริม
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
                        สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา
แนวทางการดำเนินงาน
                         สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อวางแผนการดำเนินงาน   โครงการฯ ประกอบด้วย
                        1. แผนงานจัดสร้างที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและจัดระเบียบชุมชน
                        2. แผนงานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ
ผลการดำเนินงาน 
1.  แผนงานจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 การจัดซื้อที่ดิน 
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานงบประมาณให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการซื้อที่ดิน จำนวน 5 ไร่       บริเวณบ้านบางหว้า หมู่ที่ 9 ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เพื่อก่อสร้างบ้านพักถาวร
1.2 การก่อสร้างบ้านพักถาวรและระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน
สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ประสานไปยังกลุ่มนายช่างชาวภูเก็ต เพื่อทำการออกแบบและก่อสร้างบ้านพักถาวร 23 หลัง พร้อมทั้งระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้าง ดังนี้
                  - มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ให้การสนับสนุนในด้านการก่อสร้างบ้านพักจำนวน 23 หลัง 
                  - สภากาชาดไทยให้การสนับสนุนในด้านการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค
ปัจจุบันการดำเนินงานด้านการก่อสร้างบ้านพักและระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ถนนทางเดินในโครงการฯ ระบบบำบัดน้ำเสียและขยะ ระบบระบายน้ำ ระบบประปา อาคารอเนกประสงค์ และลานกีฬา ได้ดำเนินการเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
      2. งานด้านการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ
2.1 สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้ดำเนินการสนับสนุนเครื่องมือในการประกอบอาชีพที่จำเป็น เช่น เรือประมง อวน รวมถึงประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความรู้ด้านการประกอบอาชีพเสริม เช่น การปลูกผักปลอดสารพิษ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำผ้ามัดย้อมและการทำน้ำยาล้างจาน
2.2 สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้ประสานกับ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ จำกัด เพื่อจัดตั้งกองทุนสนับสนุนโครงการนำร่องการทำประมงในกระชังหมุนเวียนแบบผสม โดยประกอบด้วยกิจกรรม 2 ส่วน ได้แก่    กิจกรรมการเลี้ยงกุ้งมังกร ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน และการเลี้ยงปลาในกระชัง ในช่วงเดือนเมษายน ถึง เดือนตุลาคม โดยมีสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งท่าชาวน้ำ ประกอบด้วยราษฎรในโครงการชัยพัฒนา กาชาดไทย ศุภนิมิต (บ้านบางหว้า)  เป็นผู้ดำเนินการ ปัจจุบันได้มีการจับผลผลิตสัตว์น้ำทั้งกุ้งมังกร และปลา แล้ว
3. การจัดตั้งหมู่บ้านโครงการชัยพัฒนา - กาชาดไทย - ศุภนิมิต (บ้านบางหว้า)
3.1 การจัดราษฎรเข้าพักอาศัยบ้านพักถาวรในโครงการฯ
- สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้คัดเลือกราษฎรจากเกาะพระทอง เข้าพักอาศัยในหมู่บ้าน จำนวน 23 หลัง ซึ่งจากการตรวจสอบ การเข้าพักอาศัยของราษฎร พบว่า มีราษฎรเข้าพักอาศัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์แล้วบางส่วน
      - สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้สำรองบ้านพักไว้ จำนวน 4 หลัง ซึ่งสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับอำเภอคุระบุรี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้แทนจากอำเภอคุระบุรี ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลคุระ และผู้แทนเจ้าหน้าที่และราษฎรในโครงการ เพื่อดำเนินการพิจารณาคัดเลือกราษฎรที่จะเข้าพักอาศัยในบ้านพักที่ว่าง โดยการคัดเลือกจากผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์สึนามิ  ที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ และราษฎรที่เป็นคนจนที่ขึ้นทะเบียนไว้ที่อำเภอคุระบุรี 
พทางนิเวศที่เหมาะสมและความหลากหลายทางชีวภาพ แก่สังคมของพืชและสัตว์ ตลอดจนนำความชุ่มชื้นมาสู่แผ่นดิน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยสำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ ได้นำแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับฝาย เข้ามาบรรจุเป็นกิจกรรมหนึ่งในการฟื้นฟูระบบนิเวศของป่าไม้บริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้ฟื้นคืนสภาพทางนิเวศที่ เหมาะสมต่อ  การเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ในงบงานการจัดการลุ่มน้ำของกรมป่าไม้ (เดิม) ซึ่งหน่วยจัดการต้นน้ำทั่วประเทศ จำนวน 203 หน่วยทั่วประเทศ ได้ดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำฝายต้นน้ำลำธาร ประเภทต่าง ๆ เป็นจำนวนมากจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2546) ดังนี้